วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีไทย

                      เป็นแบบอย่างมาจากอินเดียโบราณ ที่สันนิษฐานกันอย่างนี้คงเป็นเพราะ ในสมัยสุโขทัยเรา ได้รับอิทธิพลทางศาสนา ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และการละครมาจากอินเดีย จึงเกิดความ เชื่อว่าเราคงได้รับอิทธิพล ทางดนตรีมาด้วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาเรื่องราวของดนตรี เป็นการค้นหา หลักฐานสืบประวัติได้ยาก
         
ที่สุด เพราะดนตรีเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ จึงเป็นการยากที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ บันทึกเสียง ดนตรีเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน และใน สมัยก่อนยังไม่มีผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น นอกจากจะมีผู้จดจำ ทำนองเพลงต่างๆขึ้นแล้วยอมถ่ายทอดให้คนอื่น ได้ฟังเพลงนั้นบ้าง โดยเฉพาะ ดนตรีไทยเพิ่งมีการบันทึกเป็นโน๊ตตัวเลขเป็นครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เองโดยการคิดขึ้นของหลวงประดิษฐ์ไพเราะในเรื่องของการถ่ายทอดเพลงถ้าไม่ใช่ศิษย์รักจริงๆ ครูก็ไม่ถ่ายทอดให้ ในที่สุดเพลงนั้นก็ตายไปกับครู เพลงที่เหลืออยู่ก็ มักไม่ปรากฏหลักฐานแน่
                     ไทยมีดนตรีประจำชาติที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เองจากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่าง อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยมีชื่อเรียกตาม สำเนียงเสียง ของเครื่องดนตรี
นั้นๆ โดยบัญญัติคำที่มีลักษณะเป็นคำไทยคือ คำโดด เช่น เกราะ โกร่ง ฆ้อง กลอง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพียะ
         
ซอ และแคน ต่อมามีการประดิษฐ์คิดเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ เช่นเอาไม้มาทำอย่างเดียวกับกรับ แล้วเอาวาง เรียงกันไปหลายๆ อันโดยทำให้มีเสียงสูงต่ำไล่กันไปตามลำดับ แล้วเอาเชือกมา ร้อยหัวท้ายของกรับให้ติดกันเป็นพืดขึงบนรางไม้ เราเรียกว่า "ระนาด" เป็นต้น
                      เมื่อชนชาวไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานทางใต้ ได้มาพบเครื่องดนตรีของอินเดียซึ่งชนชาติมอญ เขมร
         รับไว้ก่อนจึงรับเอาดนตรีแบบอินเดียผสมกับแบบมอญ เขมร เข้ามาปะปนกับเครื่องดนตรีไทย ทำให้เกิดเครื่อง
         ดนตรีชนิดใหม่ขึ้นหลายอย่างเช่น พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ จะเข้ และโทน ทับ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก ได้มีการนำเครื่องดนตรีของประเทศ เหล่านั้นมา
         
ผสมเล่นกับวงดนตรีของไทยด้วย เป็นการผสมกลมกลืนความแปลกใหม่เพิ่มรสชาติเพิ่มขึ้นอีก เช่น กลองแขกแงชวา กลองแขกของมลายู เปิงมางของมอญ กลอง ไวโอลิน ออร์แกน และเปียโน เป็นต้น

ขลุ่ยเพียงออ



                           เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง ใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งต้องการ เครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำเป็นพื้น นอกจากนี้ในอดีตยังใช้ในวงมโหรีเครื่องใหญ่ ปัจจุบันไม่ได้ใช้เนื่อง จากหาคน เป่าที่มีความชำนาญได้ยาก ขลุ่ยอู้ของโบราณจะมีเจ็ดรู (รวมรูนิ้วค้ำ) แต่ในปัจจุบันมีผู้คิดทำเพิ่มขึ้นเป็นแปดรู โดยเพิ่มรูที่ใช้นิ้วก้อยล่างขึ้นอีกรูหนึ่ง ขลุ่ยอู้ปัจจุบันนี้หายากเนื่องจากต้องใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ ปล้องยาก
                          เป็นขลุ่ยที่มีขนาดปานกลาง ความยาวประมาณ 16 นิ้วระดับเสียงกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป
เป็นขลุ่ยที่มีผู้นิยมเล่นมากที่สุด นอกจากจะเป่าเพื่อความบันเทิงและความรื่นรมณ์เฉพาะตัวแล้ว ขลุ่ยเพียงออ ยังเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตาม (เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม และ ซออู้) ตามประเพณีนิยมในวงเครื่องสาย และ วงมโหรี
                             ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้นทำด้วยไม้ไผ่แต่ในปัจจุบันมีการ
นำวัสดุอื่น ๆ มาทำเช่น ไม้เนื้อแข็ง ท่อพลาสติก เป็นต้น
วิธีการฝึกหัดเป่าขลุ่ยเบื้องต้นผู้เรียนต้องรักในกนตรี ขยันหมั่นเพียรฝึกฝนจนชำนาญ มีความอุตสาหะ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ บากบั่นพยายามในการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์เครื่องดนตรี รู้ขั้นตอนในการฝึกฝนตนเองอย่างเป็นประจำ การฝึกหัดเป่าขลุ่ยมีวิธีการคือ ต้องรู้จักขลุ่ยเพียงออ เลือกขลุ่ยที่ดี เรียนรู้กลวิธีการเป่าขลุ่ย ท่านั่ง การจับขลุ่ยที่ถูกลักษณะ เป่าให้เป็นเสียง เป่าเป็นเพลงขลุ่ย เป่าขลุ่ยเข้ากับวงดนตรีไทยต่าง ๆ โดยมีวิธีการฝึกดังนี้
1. จับขลุ่ยทั้งสองมือ ใช้หัวแม่มือบนปิดรูค้ำก่อน มือบนใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางปิดรูด้านบน และ มือล่างใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อยปิดรูด้านล่าง และให้หัวแม่มือล่างประคองขลุ่ยไว้ด้านล่างของเลาขลุ่ย
2. ให้สัมผัสปลายนิ้วมือปิดรู้นิ้วให้สนิท เพื่อให้เสียงเป่าไม่ผิดเพี้ยน
3. เมื่อปิดนิ้วมือสนิทดีแล้วทุกนิ้วมือก็เริ่มเป่าออกเสียง
4. เมื่อรู้ระดับเสียงต่ำจนถึงเสียงสูงสุดแล้ว หัดปิดเปิดไล่นิ้วจากต่ำไปสูง ไล่จากเสียงสูงลงต่ำ ไล่เสียงไปกลับจนคล่องจึงฝึกสลับนิ้ว
5. ฝึกเป่าสลับนิ้ว สลับข้ามเสียงกัน เช่น โด มี ซอล ที ฯลฯ
6. ฝึกต่อเพลง จากเพลงที่มีความคุ้นเคยก่อน แล้วเริ่มเพิ่มเพลงให้มีความยากขึ้นเรื่อย ๆ

ระนาดเอก



                       ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสอง อันตีเป็น จังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาด ลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึง ไว้บน รางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียง ไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็น แผ่นเดียวกันว่าลูกระนาดนี้ทำด้วยหรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลา ให้ ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำ ผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาว ประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
                        ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราวนิยม ทำด้วย ไม้แก่น ลูกระนาดมี 21 ลูก ลูกที่ 21 หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือก ติดกัน เป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่น ไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า " ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำ ด้วยวัสดุที่ นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาด     การจับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2. เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืน
    ตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิม     ห้ามใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ระนาดเอกเหล็ก


                         ระนาดเหล็ก เป็นเครื่องโลหะ ควรจะนำไปกล่าวในหมวดโลหะ แต่เพราะเป็นเครื่อง ตีที่ ประดิษฐ์สร้าง ขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกัน จึงนำมากล่าวรวม ไว้เสียในหมวด เดียวกัน ระนาดทอง หรือระนาดเอกเหล็กนี้ มีตำนานว่า คณาจารย์ทางดุริยางค์ศิลปคิด ประดิษฐ์ขึ้นใน รัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาด แต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูก ระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไป ตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจาก มีน้ำหนัก มาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวนกำลัง โขน2 ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาด ด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทอง และระนาดเหล็ก ใช้วาง เรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือก ผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน 2 ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ ระนาด 2 ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็ก มีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก ลูกต้นยาว ประมาณ 23.5 ซม. ลูกยอดยาวประมาณ 19 ซม. และกว้างประมาณ 4 ซม. ลูกต้นๆขูดโลหะ ตอนกลางด้านล่างจนบาง เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะ ไว้จนหนากว่า 1 ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง แคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาด คือกว้างประมาณ 18 ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง 4    เท้าติดลูกล้อ เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย
                        ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สาเหตุที่เรียกว่า ระนาดทอง ก็เพราะว่าแต่เดิมลูกระนาด ทำด้วยเหล็กและทำด้วยทองเหลือง จึงเรียก ว่าระนาดทอง ต่อมาภายหลังมีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กและทำตามอย่างระนาดเอกไม้ ดังนั้นระนาด ทองที่เรียกกันอยู่เดิม จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็กในที่สุด
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ          จับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2. เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของ
    ผืนตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม     ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ซอสามสาย



                      เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางให้เหลือพูทั้งสามอยู่ด้านหลัง ขึงหน้าด้วย          หนังแพะ ซอสามสายเป็นซอที่มีรูปร่างวิจิตรงดงามที่สุด ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ที่เล่นยาก แต่นิยมกันว่า          ไพเราะและ สอดประสานเข้ากับเสียงขับร้องของนักร้องไทยได้เป็นอย่างดี มีใช้ในวงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัย          กรุงสุโขทัย ใช้บรรเลงในพระราชพิธีอันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังนิยม เล่นคลอขับร้องผสมวง
         
คู่กับ กระจับปี่ ในวงมโหรีและวงเครื่องสาย มีผู้เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2          แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสนพระทัย และทรงโปรดซอสามสายมากเป็นพิเศษทรงพระราชทานนาม ซอคู่          พระหัตถ์ว่า “ซอสายฟ้าฟาด”  
                      ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีของไทยที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ ในสมัยสุโขทัยเรียกซอสามสายว่า
         “ ซอพุงตอ” กระโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ ที่มีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่มคล้าย วงแหวน 3          อัน วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยมแบบสามเส้า ขึงหน้าซอด้วยหนังแพะ หรือหนังลูกวัว ขนาดของซอขึ้นอยู่กับขนาด          ของกะลาที่หาได้เป็นสำคัญ ซอสามสายจะต้องมีเครื่องประกอบที่บนหนังหน้าซออีก2 อย่าง ได้แก่ “ หย่อง”
          และ “ ถ่วงหน้า” หย่องทำด้วยไม้มีไว้สำหรับให้สาย ทั้งสามพาดผ่านหนุน สาย ตรงหน้าซอให้ตุงออกมา
         
ถ่วงหน้า ใช้ติดตรงหน้าซอตอนบนด้านซ้าย มีลักษณะเป็นพลอยสีต่าง ๆ หรือ อาจจะทำด้วยทองคำฝังเพชร         ก็ได้ ตามแต่ฐานะจะทำให้เป็นรูปวงกลมหรือวงรีก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซ.ม. ถ่วงหน้าต้องเป็น
         ของมีนำหนักได้ส่วนกับขนาด และความหนา ของหนังจะช่วย ให้ซอมีเสียง ดังกังวานไพเราะ ซอสามสาย
         ความยาวทั้งคันประมาณ 1.15 เมตร คันทวนทำด้วยไม้แก่นบาง อันกประกอบงาหรือประกอบมุกสอดเข้าไป
         ในกระโหลกซอ คันทวนตอนบนยาวประมาณ 67 ซ.ม.และสอดเข้าไป ในกระโหลกยาวประมาณ 26 ซ.ม.
         ทวนตอนบนและทวนตอนล่างจะเจาะรูเพื่อให้ร้อยสายเข้าไปได้ คันทวนตอนบนจะมีลูกบิด 3 อันอยู่ทางซ้าย
         
มือ ของผู้บรรเลง 2 อัน และอยู่ทางขวามือของผู้บรรเลง 1 อันความยาวของลูกบิดยาวประมาณ 14 ซ.ม.  ส่วน          ที่อยู่ระหว่างลูกบิดกับกระโหลกจะนิยมทำด้วยโลหะ จะทำด้วย นาค เงิน หรือเหล็ก โดยคันทวนส่วนที่เป็น          โลหะจะนิยมทำเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม คันชักหรือคันสียาวประมาณ 86 ซ.ม. ทำเป็น
         
รูปโค้ง โคนตรงมือถืองอน หางม้าที่ใช้จะเป็นหางม้าที่ละเอียด มีประมาณ 250-300 เส้น
                      ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายค้ำคันทวน เพื่อที่จะให้นิ้วมีกำลังที่จะบังคับซอให้พลิกหรือหมุนได้ในระหว่าง          การบรรเลง โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้าย เป็นตัวบังคับซอได้การวางนิ้ว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
         สายเอก สายเปล่า มีเสียง ซอล
         นิ้วชี้ มีเสียง ลา
         นิ้วกลาง มีเสียง ที
         นิ้วนาง มีเสียง โด
         นิ้วก้อย มีเสียง เร (สูง)
         นิ้วก้อย (รูด) มีเสียง มี (สูง)

ซอด้วง



                      เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง กล่องเสียงทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็งขุด หรืองาช้าง เป็นเครื่องอุ้มเสียง          ขึงหน้าด้วยหนังงู คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสายเอ็น
         
มี 2 สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่างสาย ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
                      ซอด้วง เป็นซอสองสายมีลักษณะคล้ายกับซอของจีนกระโหลกซอนิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองา         (แต่เดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่) แต่ที่นิยมกันว่ามีเสียงดีกระโหลกจะต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ตัวกระบอกยาว
         
ประมาณ 13 ซ.ม. กว้างประมาณ 7 ซ.ม. ขึ้นหน้าซอด้วยหนังงูเหลือม ซอด้วงจะมีความยาว ทั้งคัน ประมาณ
         
72 ซ.ม. คันซอจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือส่วนบนสุดเรียกว่า “ โขน” ด้านบนของคัน ซอมีลักษณะ          ปาดปลายคล้ายโขนเรือ ด้านล่างค่อย ๆ เรียวเล็กลงมา มีลูกบิด 2 อันและเจาะ รูสำหรับ ผูกสายลูกบิดด้านบน          สำหรับผูกสายทุ้ม ลูกบิดด้านล่างผูกสายเอก ใช้สำหรับเร่งเสียงตามความต้องการมีเชือกผูกรั้งสายกับทวน          ตรงกลางค่อนขึ้นไปเพื่อให้สายตึงเรียกว่า “ รัดอก” ด้านหน้าซอจะมีไม้ไผ่เล็ก ๆ ยาวประมาณ 1 ซ.ม. สูง
         
ประมาณ 1 หุน มีไว้ให้สายพาดผ่านเรียกว่า “ หย่อง” คันชักของซอด้วง จะอยู่ ระหว่างสายทั้ง 2 เส้น มีส่วน          ประกอบ 2 ส่วน คือตัวคันชัก และหางม้า ตัวคันชักนั้นทำด้วยไม้จริงต้องเป็นไม้ชนิดเดียวกันกับที่ใช้
         ทำกระโหลกซอและคันซอ หางม้าที่นิยมใช้เป็นหางม้าสีขาวและใช้ขน หางม้าประมาณ 120 ถึง 150 เส้น          ปัจจุบันนำไนล่อนมาใช้แทนขนม้า เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าและหาง่าย
                      วางคันสีไว้ด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก ค่อยๆลากคันสีออกให้เกิดเสียง ซอล จนสุดคันชัก          แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน (ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง) พอซ้อมสายในคล่องดีแล้ว จึงเปลี่ยนมาสี          สายเอกซึ่งเป็นเสียง เร โดยการใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยมือขวา ดันคันสีออก ปฏิบัติจนคล่อง

ซออู้



                      เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าวเรียกว่า “กะโหลกซอ” ตัดตามยาวให้พูอยู่ข้างบน          ใช้เป็นเครื่องอุ้มเสียง ขึงหน้าด้วยหนังวัว คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำ          ด้วยไหมฟั่นมีคันชักอยู่ระหว่างสาย กะโหลกและทวนบางคันก็แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจงสวยงามน่าดู          ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสายและวงมโหรี เมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อ          มาภายหลังได้นำเข้ามาบรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ด้วย ในการปรับปรุงวง          ดนตรีประกอบการแสดงละครของกรมศิลปากรซึ่งจัดแสดง ณ โรงละครศิลปากร ได้ปรับปรุงวงปี่พาทย์
         โดยให้ซออู้บรรเลงร่วมด้วยตามโอกาส
                 ซออู้เป็นซอที่มีสองสายเหมือนกับซอด้วง มีเสียงทุ้มต่ำกว่าซอด้วง กระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว          โดยการปาดกะลาออกด้านหนึ่ง ขึ้นหน้าซอด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะกะลามะพร้าว อีกด้านหนึ่งมีการ          แกะสลักลวดลายไว้อย่างสวยงาม เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง คันทวนของซอนิยมทำจาก ไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ
         
79 ซ.ม. ส่วนบนของคันทวนมีลักษณะกลม ๆ ด้านล่างค่อย ๆ เรียวเล็กลงมา มีลูกบิด 2 อัน และเจาะรูสำหรับ          ผูกสายซอ ลูกบิดด้านบนสำหรับผูกสายทุ้ม ลูกบิดด้านล่างผูกสายเอก ใช้สำหรับ เร่งเสียงตามความต้องการ
         มีเชือกผูกรัดสายทั้งสองกับทวนตรงกลางค่อนขึ้นไปเพื่อให้สายตึงเรียกว่า “ รัดอก” เช่นเดียวกับซอด้วง
          ด้านหน้าซอจะมีผ้าม้วนกลม ๆ ทำเป็นหมอนให้สายพาดผ่าน คันชักของ ซออู้จะมีลักษณะ   และส่วน          ประกอบเหมือนกับซอด้วง สายของซอด้วงกับซออู้ทั้งสองจะมีขนาดไม่เท่ากัน สายของซออู้จะ มีขนาด
         
ใหญ่กว่าดังนั้นเสียงของซออู้จะมีเสียงทุ้มต่ำ
                      วาง คันสีให้ชิดด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก แล้วลากคันสีออกช้าๆด้วยการใช้วิธีสีออก          ลากคันสีให้สุด แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง พอคล่องดีแล้ว ให้เปลี่ยนมา          เป็นสีสายเอก โดยดันนิ้วนางกับนิ้วก้อยออกไปเล็กน้อย ซอจะเปลี่ยนเป็นเสียง ซอล ทันที ดังนี้
         คันสี ออก เข้า ออก เข้า เสียง โด โด ซอล ซอล   ฝึกเรื่อยไปจนเกิดความชำนาญ