วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฉิ่ง


                        เครื่องดนตรี 2 ชนิดมีเล่นกันมาช้านานแล้ว ในราวสมัยสุโขทัย เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี
ี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุดมี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ ใช้สำหรับวงเครื่องสาย และวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้าง หนึ่ง ไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง “ฉับ” ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่อง ดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง
                        ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะมีใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติสันนิษฐาน ว่ามีใน สมัย สุโขทัย ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในการคุมจังหวะมีรูปร่างลักษณะคล้ายถ้วยชา หรือคล้ายๆ กับฝาขนม ครกที่ไม่มีที่จับ ฉิ่งคู่หนึ่งจะมี 2 ฝา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-6.5 ซ.ม. เจาะรูตรงกลางสำหรับ ร้อย เชือกเพื่อถือตีได้สะดวก ที่เรียกว่าฉิ่งคงจะเรียกตามเสียงที่ได้ยิน เมือตีให้ขอบกระทบกันหมิ่น ๆ จะมีเสียงดัง“ ฉิ่ง” ถ้าเอา 2 ฝาตีประกบกันจะมีเสียง “ ฉับ”
                        ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำตัวตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากับนิ้วชี้จับเชือกผูกฉิ่ง ในลักษณะ เหมือนคีบแล้วคว่ำมือลง ในขณะเดียวกันให้นิ้วนาง กลาง ก้อย กรีดออกคุมฝาฉิ่ง ส่วนมือซ้ายจับเช่นเดียวกับ มือขวา แต่หงายฝาฉิ่งขึ้นรับฝาบน มีวิธีตีที่ทำให้เกิดเสียงอยู่ 2 แบบคือ เสียงฉิ่ง กับ เสียงฉับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น