วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระนาดเอกเหล็ก


                         ระนาดเหล็ก เป็นเครื่องโลหะ ควรจะนำไปกล่าวในหมวดโลหะ แต่เพราะเป็นเครื่อง ตีที่ ประดิษฐ์สร้าง ขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกัน จึงนำมากล่าวรวม ไว้เสียในหมวด เดียวกัน ระนาดทอง หรือระนาดเอกเหล็กนี้ มีตำนานว่า คณาจารย์ทางดุริยางค์ศิลปคิด ประดิษฐ์ขึ้นใน รัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาด แต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูก ระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไป ตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจาก มีน้ำหนัก มาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวนกำลัง โขน2 ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาด ด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทอง และระนาดเหล็ก ใช้วาง เรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือก ผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน 2 ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ ระนาด 2 ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็ก มีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก ลูกต้นยาว ประมาณ 23.5 ซม. ลูกยอดยาวประมาณ 19 ซม. และกว้างประมาณ 4 ซม. ลูกต้นๆขูดโลหะ ตอนกลางด้านล่างจนบาง เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะ ไว้จนหนากว่า 1 ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง แคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาด คือกว้างประมาณ 18 ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง 4    เท้าติดลูกล้อ เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย
                        ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สาเหตุที่เรียกว่า ระนาดทอง ก็เพราะว่าแต่เดิมลูกระนาด ทำด้วยเหล็กและทำด้วยทองเหลือง จึงเรียก ว่าระนาดทอง ต่อมาภายหลังมีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กและทำตามอย่างระนาดเอกไม้ ดังนั้นระนาด ทองที่เรียกกันอยู่เดิม จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็กในที่สุด
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ          จับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2. เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของ
    ผืนตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม     ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น