วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระนาดเอก



                       ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสอง อันตีเป็น จังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาด ลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึง ไว้บน รางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียง ไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็น แผ่นเดียวกันว่าลูกระนาดนี้ทำด้วยหรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลา ให้ ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำ ผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาว ประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
                        ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราวนิยม ทำด้วย ไม้แก่น ลูกระนาดมี 21 ลูก ลูกที่ 21 หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือก ติดกัน เป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่น ไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า " ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำ ด้วยวัสดุที่ นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"
1. ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาด     การจับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
2. เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืน
    ตลอดเวลา
3. ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
4. การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึง เพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหาย ได้
5. ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิม     ห้ามใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น