ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า “หุ่น” ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า “หนังเรียด” หน้าใหญ่มีความ กว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่าหน้า “เท่ง” ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่า มีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า “หน้ามัด” ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบๆขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนัง ที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า “ไส้ละมาน” แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียง ไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า “รัดอก” ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้า ที่กำกับจังหวะหน้าทับต่างๆ |
ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่ง ให้เป็น โพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้า เทิ่ง" หรือ " หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนังเรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียง ระหว่าง หน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" สำหรับใช้ร้อยหนังเรียด โยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมด ตอนกลางหุ่น ใช้หนังเรียดพัน โดยรอบเรียกว่า "รัดอก" หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้งสองหน้า ตะโพน ใช้บรรเลงผสม อยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง |
1. เสียงเท่ง (หรือเทิ่ง) ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณแล้วเปิดมือ ออกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน 2. เสียงเทิด ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกันตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณ แล้วห้ามเสียงโดยยังคง ยั้งมือปิดแนบไว้กับหนังหน้าตะโพน 3. เสียงถะ ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ารุ่ย พร้อมทั้งกดมือห้ามเสียงมิให้กังวาน 4. เสียงป๊ะ ใช้มือขวา (ทั้งฝ่ามือ) ที่นิ้วมือแยกออกจากกันตีลงบนหนังหน้ารุ่ยที่บริเวณชิดใต้ข้าวสุกด้วยกำลัง แรง แล้วสะบัดปลายนิ้วห้ามกำชับมิให้เสียงกังวาน 5. เสียงติง ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ามัด ด้วยกำลังพอประมาณตีแล้วเปิดมือออก ทันที เพื่อให้เสียงดังกังวาน 6. เสียงตืด ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ามัดด้วยกำลังพอประมาณแต่ห้ามเสียงโดยมิ ให้กังวานมาก ทั้งนี้ด้วยการใช้ปลายนิ้วทั้งสี่แนบหน้าหนังไว้เล็กน้อย 7. เสียงตุ๊บ ใช้มือซ้ายที่กระชับนิ้วมือทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหน้ามัดแล้วห้ามเสียงทันทีโดยกดนิ้วมือทั้ง สี่ไว้กับหน้าหนัง 8. เสียงพรึง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังทั้งสองด้านพร้อมกัน แล้วเปิดมือทันทีทั้งนี้ต้องให้เสียงทั้งสอง หน้าดังกลมกลืนกัน 9. เสียงพริง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังพร้อมกัน เหมือนกับการตีเสียงพรึงแต่เปิดมือซ้ายและใช้มือขวา ประคองเสียงหน้ารุ่ยไว้ เพื่อให้เสียงจากมือซ้ายตีหน้ามัดดังกว่า 10. เสียงเพริ่ง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนัง พร้อมกันด้วยกำลังแรง(โดยเฉพาะมือขวาที่หน้ารุ่ย ) แล้วเปิด มือออกทันทีเพื่อให้เสียงดังกังวาน 11. เสียงเพริด ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังกลองพร้อมกันด้วยกำลังแรง และห้ามเสียงในทันทีโดยแนบมือ ชิดไว้กับหน้าหนัง 12. เสียงพรืด ใช้มือทั้งสองตีลงบนหนังหน้ากลอง พร้อมกันด้วยกำลังแรงพอประมาณ โดยยั้งมือขวาที่ตีหน้า รุ่ยให้เบากว่า แล้วห้ามเสียงโดยมิให้กังวานมาก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น