จากส่วนประกอบที่มีลูกเปิงมาง 7 ใบและคอกใส่ลูกเปิงมาง 1 คอก จึงเรียกเครื่อง ดนตรีชนิด นี้ว่า เปิงมางคอก แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ เล่นในวงปี่พาทย์มอญ ภายหลังชาวไทยนิยม นำมา บรรเลง โดยมีการรับอิทธิพลนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา |
เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีมอญชิ้นหนึ่ง มีลักษณะเป็นกลองที่ขนาดแตกต่างกัน 7 ลูก ผูก เป็นราวอยู่ในชุดเดียวกัน ลูกเปิงมางมี 7 ขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก ขึงด้วยหนัง 2 หน้า ขึ้นหน้าด้วยหนังเรียด โยงสายเร่งหนังหน้ากลองเป็นแนวยาวตลอด หุ่นกลองเวลาบรรเลงต้องติดข้าวสุก บดผสมขี้เถ้าตรงกลาง ก่อนลูกเปิงมางแต่ละใบจะมีห่วงไว้แขวน คอกเปิงมางทำเป็นรั้ว 3 ชิ้นติดต่อกัน โดยใช้ตะขอ หรือ สลัก มีตะขอแขวนลูกเปิงเป็นระยะ รั้วเป็นรูปโค้งเกือบรอบวงกลม มีทางให้คนเข้าไปบรรเลงตรงกลางคอก |
1. ตีทีละลูก คือใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าเปิงแต่ละลูก โดยใช้มือซ้ายตีทางด้านเสียงต่ำ และมือขวาตีทางด้านเสียงสูงตีแล้วเปิดมือเพื่อให้เสียงดังกังวาน 2. ตีรัว คือการตีด้วยมือทั้งสองลงที่ลูกเปิงด้วยความเร็ว เรียงจากสูงไปหาต่ำ และ จากต่ำไปหาสูง 3. ตีเสียงป๊ะ คือการตีด้วยมือ (ส่วนมากเป็นมือขวา) ลงที่เปิงมางลูกใดลูกหนึ่งด้วย กำลังแรง ตีแล้วห้ามเสียงโดยกดแนบฝ่ามือชิดติดกับหน้าหนัง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น