โทน เป็นชื่อของเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังถึงคอ มีหางยื่น ออกไปและบานปลาย มีชื่อเรียกคู่กันว่า โทนทับ โดยลักษณะรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกกัน ได้ตามรูปร่างที่ ปรากฏ 2 ชนิดคือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี |
โทนโดยลักษณะทางรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกตามรูปร่างที่ปรากฏ 2 ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี โทนชาตรี ตัวโทนทำด้วยไม้ขนุน ไม้สัก หรือไม้กระท้อน มีขนาดปากว้าง 17 ซ.ม. ยาวประมาณ 34 ซ.ม. มีสายโยงเร่งเสียง ใช้หนังเรียด โทนมโหรี ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึงหนังโตกว่าโทนชาตรี ขนาด หน้ากว้างประมาณ 22 ซ.ม. ยาวประมาณ 38 ซ.ม. สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าเหล้าเป็นเส้นเล็ก หรือใช้ไหม ควั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วย หนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือมหรือหนังงวงช้าง |
ปรกติตีด้วยฝ่ามือขวา ให้นิ้วชี้ นาง กลาง ก้อย เรียงชิดติกัน ตีลงที่หน้าหนังให้กลางอุ้งมืออยู่ ระหว่างขอบกลอง มีวิธีตีให้เกิดเสียงดังนี้
1. เสียงโทน่ คือใช้ฝ่ามือขวาที่นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้าโทน ตีแล้วเปิดมือ อกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน ใช้กำลังพอประมาณ โดยเฉพาะโทนชาตรีขึงด้วยหนังบาง สำหรับ มือซ้ายเปิดมืออกจากปากลำโพงเพื่อให้ลมและเสียงก้องออกมา 2. เสียงป๊ะ คือการใช้ฝ่ามือขวา ที่นิ้วทั้งสี่กางออกเล็กน้อย ตีแล้วปิดมือแนบไว้กับหนัง หน้าโทน ด้วยกำลังแรง ขณะเดียวกันมือซ้ายใช้กลางอุ้งมือปิดปากลำโพงมิให้อากาศออก เสียง ป๊ะจะชัดเจน 3. เสียงเถอะ คือการใช้ฝ่ามือขวาที่นิ้วทั้งสี่ เรียงชิดติดกัน ตีลงที่หนังหน้าโทน ตีแล้วกด ปลายนิ้วทั้งสี่แนบหนังหน้าโทนเพื่อให้เสียงสั้นทั้งนี้ไม่ใช้มือซ้ายปิดปากลำโพง 4. เสียงติง คือใช้นิ้วมือขวาตีลงที่บริเวณขอบกลอง และใช้มือซ้ายปิดปากลำโพงมิให้ลม ออกเสียงจะดังไพเราะชัดขึ้น ปัจจุบันในการตีโทนชาตรีของนักดนตรีภาคใต้ ใช้ตีคนเดียว 2 ลูก วางบนหน้าตัก ลูกหนึ่งตีด้วยมือ ขวา อีกลูกหนึ่งใช้มือซ้ายตี ขณะที่ตีจะใช้มือขวาเปิดปิดห้ามเสียง ไปด้วย อันเป็นความสามารถเฉพาะตัวลักษณะของโทนที่ใช้เล็ก โยงเร่งเสียงด้วยสายในล่อน ที่หน้าหนัง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น