วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ซอสามสาย



                      เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางให้เหลือพูทั้งสามอยู่ด้านหลัง ขึงหน้าด้วย          หนังแพะ ซอสามสายเป็นซอที่มีรูปร่างวิจิตรงดงามที่สุด ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ที่เล่นยาก แต่นิยมกันว่า          ไพเราะและ สอดประสานเข้ากับเสียงขับร้องของนักร้องไทยได้เป็นอย่างดี มีใช้ในวงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัย          กรุงสุโขทัย ใช้บรรเลงในพระราชพิธีอันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังนิยม เล่นคลอขับร้องผสมวง
         
คู่กับ กระจับปี่ ในวงมโหรีและวงเครื่องสาย มีผู้เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2          แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสนพระทัย และทรงโปรดซอสามสายมากเป็นพิเศษทรงพระราชทานนาม ซอคู่          พระหัตถ์ว่า “ซอสายฟ้าฟาด”  
                      ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีของไทยที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ ในสมัยสุโขทัยเรียกซอสามสายว่า
         “ ซอพุงตอ” กระโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ ที่มีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่มคล้าย วงแหวน 3          อัน วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยมแบบสามเส้า ขึงหน้าซอด้วยหนังแพะ หรือหนังลูกวัว ขนาดของซอขึ้นอยู่กับขนาด          ของกะลาที่หาได้เป็นสำคัญ ซอสามสายจะต้องมีเครื่องประกอบที่บนหนังหน้าซออีก2 อย่าง ได้แก่ “ หย่อง”
          และ “ ถ่วงหน้า” หย่องทำด้วยไม้มีไว้สำหรับให้สาย ทั้งสามพาดผ่านหนุน สาย ตรงหน้าซอให้ตุงออกมา
         
ถ่วงหน้า ใช้ติดตรงหน้าซอตอนบนด้านซ้าย มีลักษณะเป็นพลอยสีต่าง ๆ หรือ อาจจะทำด้วยทองคำฝังเพชร         ก็ได้ ตามแต่ฐานะจะทำให้เป็นรูปวงกลมหรือวงรีก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซ.ม. ถ่วงหน้าต้องเป็น
         ของมีนำหนักได้ส่วนกับขนาด และความหนา ของหนังจะช่วย ให้ซอมีเสียง ดังกังวานไพเราะ ซอสามสาย
         ความยาวทั้งคันประมาณ 1.15 เมตร คันทวนทำด้วยไม้แก่นบาง อันกประกอบงาหรือประกอบมุกสอดเข้าไป
         ในกระโหลกซอ คันทวนตอนบนยาวประมาณ 67 ซ.ม.และสอดเข้าไป ในกระโหลกยาวประมาณ 26 ซ.ม.
         ทวนตอนบนและทวนตอนล่างจะเจาะรูเพื่อให้ร้อยสายเข้าไปได้ คันทวนตอนบนจะมีลูกบิด 3 อันอยู่ทางซ้าย
         
มือ ของผู้บรรเลง 2 อัน และอยู่ทางขวามือของผู้บรรเลง 1 อันความยาวของลูกบิดยาวประมาณ 14 ซ.ม.  ส่วน          ที่อยู่ระหว่างลูกบิดกับกระโหลกจะนิยมทำด้วยโลหะ จะทำด้วย นาค เงิน หรือเหล็ก โดยคันทวนส่วนที่เป็น          โลหะจะนิยมทำเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม คันชักหรือคันสียาวประมาณ 86 ซ.ม. ทำเป็น
         
รูปโค้ง โคนตรงมือถืองอน หางม้าที่ใช้จะเป็นหางม้าที่ละเอียด มีประมาณ 250-300 เส้น
                      ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายค้ำคันทวน เพื่อที่จะให้นิ้วมีกำลังที่จะบังคับซอให้พลิกหรือหมุนได้ในระหว่าง          การบรรเลง โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้าย เป็นตัวบังคับซอได้การวางนิ้ว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
         สายเอก สายเปล่า มีเสียง ซอล
         นิ้วชี้ มีเสียง ลา
         นิ้วกลาง มีเสียง ที
         นิ้วนาง มีเสียง โด
         นิ้วก้อย มีเสียง เร (สูง)
         นิ้วก้อย (รูด) มีเสียง มี (สูง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น