วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีไทย

                      เป็นแบบอย่างมาจากอินเดียโบราณ ที่สันนิษฐานกันอย่างนี้คงเป็นเพราะ ในสมัยสุโขทัยเรา ได้รับอิทธิพลทางศาสนา ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และการละครมาจากอินเดีย จึงเกิดความ เชื่อว่าเราคงได้รับอิทธิพล ทางดนตรีมาด้วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาเรื่องราวของดนตรี เป็นการค้นหา หลักฐานสืบประวัติได้ยาก
         
ที่สุด เพราะดนตรีเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ จึงเป็นการยากที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ บันทึกเสียง ดนตรีเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน และใน สมัยก่อนยังไม่มีผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น นอกจากจะมีผู้จดจำ ทำนองเพลงต่างๆขึ้นแล้วยอมถ่ายทอดให้คนอื่น ได้ฟังเพลงนั้นบ้าง โดยเฉพาะ ดนตรีไทยเพิ่งมีการบันทึกเป็นโน๊ตตัวเลขเป็นครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เองโดยการคิดขึ้นของหลวงประดิษฐ์ไพเราะในเรื่องของการถ่ายทอดเพลงถ้าไม่ใช่ศิษย์รักจริงๆ ครูก็ไม่ถ่ายทอดให้ ในที่สุดเพลงนั้นก็ตายไปกับครู เพลงที่เหลืออยู่ก็ มักไม่ปรากฏหลักฐานแน่
                     ไทยมีดนตรีประจำชาติที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เองจากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่าง อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยมีชื่อเรียกตาม สำเนียงเสียง ของเครื่องดนตรี
นั้นๆ โดยบัญญัติคำที่มีลักษณะเป็นคำไทยคือ คำโดด เช่น เกราะ โกร่ง ฆ้อง กลอง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพียะ
         
ซอ และแคน ต่อมามีการประดิษฐ์คิดเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ เช่นเอาไม้มาทำอย่างเดียวกับกรับ แล้วเอาวาง เรียงกันไปหลายๆ อันโดยทำให้มีเสียงสูงต่ำไล่กันไปตามลำดับ แล้วเอาเชือกมา ร้อยหัวท้ายของกรับให้ติดกันเป็นพืดขึงบนรางไม้ เราเรียกว่า "ระนาด" เป็นต้น
                      เมื่อชนชาวไทยอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานทางใต้ ได้มาพบเครื่องดนตรีของอินเดียซึ่งชนชาติมอญ เขมร
         รับไว้ก่อนจึงรับเอาดนตรีแบบอินเดียผสมกับแบบมอญ เขมร เข้ามาปะปนกับเครื่องดนตรีไทย ทำให้เกิดเครื่อง
         ดนตรีชนิดใหม่ขึ้นหลายอย่างเช่น พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ จะเข้ และโทน ทับ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก ได้มีการนำเครื่องดนตรีของประเทศ เหล่านั้นมา
         
ผสมเล่นกับวงดนตรีของไทยด้วย เป็นการผสมกลมกลืนความแปลกใหม่เพิ่มรสชาติเพิ่มขึ้นอีก เช่น กลองแขกแงชวา กลองแขกของมลายู เปิงมางของมอญ กลอง ไวโอลิน ออร์แกน และเปียโน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น